ผดหน้าร้อน แสบ คัน ทำยังไง?

หัวข้อ

‘เหงื่อ’ ตัวการเกิดผดร้อน

หนึ่งในโรคผิวหนังที่มาพร้อมกับหน้าร้อนสำหรับประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างบ้านเราก็คือผดร้อน ผื่นคัน ซึ่งสาเหตุหลักมาจาก ‘เหงื่อ’ กล่าวคือเมื่ออุณหภูมิรอบตัวสูงขึ้น ร่างกายจะขับเหงื่ออกมาเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิว เพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกาย แต่บางครั้งของเสียที่มาพร้อมกับเหงื่อกลับไปอุดตันท่อเหงื่อทำให้เกิดการอักเสบกลายเป็นผดผื่น ผดร้อน ตุ่มแดง หรือบางรายอาจถึงกับติดเชื้อแบคทีเรียตามมาได้

สำหรับผดผื่นที่พบมากจะเป็นลักษณะตุ่มแดง ปื้นแดง กระจายอยู่ตามผิวหนัง อาจมีตุ่มน้ำใสปะปนร่วมด้วย ในกลุ่มเด็กจะเป็นมากบริเวณลำคอ ขา แผ่นหลัง รักแร้ ส่วนผู้ใหญ่จะเป็นมากบริเวณใต้ร่มผ้าที่มีการเสียดสีบ่อยๆ เช่น ลำคอ หนังศรีษะ ลำตัว หน้าอก ใต้หน้าอก ใต้รักแร้ และข้อพับต่างๆ ของร่างกายบริเวณที่เหงื่อออกมาก

5 วิธีรับมือป้องกันผดหน้าร้อน

ใครเคยเป็นผดผื่นหน้าร้อนคงจะรู้ดีว่าอานุภาคของมันกวนกายกวนใจขนาดไหน ทั้งคัน ทั้งแสบ แถมไม่ได้หายกันง่ายๆ บางคนถึงจะหายแล้วยังทิ้งรอยด่างดำไว้ให้ดูต่างหน้าอีกต่างหาก ดังนั้นป้องกันไว้ก่อนดีที่สุดด้วยวิธีไม่ยาก ดังต่อไปนี้


1. หลีกเลี่ยงการออกแดด

เพื่อให้ร่างกายเหงื่อออกน้อยที่สุด พยายามอยู่ในที่ลมโกรก หรือห้องแอร์เพื่อให้ผิวไม่เกิดการสะสมของเหงื่อจนเกิดการอุดตัน

2. อาบน้ำหลังผ่านกิจกรรมที่เสียเหงื่อมาก

เช่น การทำงานกลางแจ้ง หรือออกกำลังกาย เมื่อนั่งพักจนร่างกายเย็นลงแล้ว ควรอาบน้ำเพื่อชำระล้างร่างกายให้สะอาด ป้องกันการอุดตันของสิ่งสกปรกบนผิว

3. งดใส่เครื่องประดับหรือสร้อยช่วงหน้าร้อน

โดยเฉพาะชนิดที่รัดหรือวางแช่บนผิวโดยตรงเป็นเวลานาน เพื่อลดการสะสมของเหงื่อ ลดการอับบนผิว หรืออาจใช้วิธีใส่เครื่องประดับทับลงบนเสื้อผ้าแทนการสัมผัสผิวโดยตรง

4. หลีกเลี่ยงการไว้เล็บยาว

เพราะในช่วงหน้าร้อน อาการคันบริเวณต่างๆ ในร่างกายเกิดขึ้นได้ง่าย หลายครั้งคนเราก็เผลอเกาแรงๆ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดผิวเป็นขุย เป็นแผล จนเกิดการอักเสบหรือเป็นหนองได้

5. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี

โดยเฉพาะ ‘ชุดชั้นใน’ ที่ต้องสัมผัสผิวตลอดเวลา เพราะในช่วงหน้าร้อน ผู้หญิงหลายคนมักประสบปัญหาแพ้ชุดชั้นในจากการที่เลือกชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะอากาศและสรีระ เช่น รัดแน่นเกินไป หรือทำจากผ้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี จนเกิดปัญหาผื่นคัน รอยแดง ผดร้อนบริเวณหน้าอก ผื่นตามขอบชุดชั้นใน และผิวใต้หน้าอก จึงมีข้อแนะนำให้เลือกใช้ชุดชั้นในที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี เช่นเดียวกับลักษณะของชุดชั้นใน Charabra ชุดชั้นในสุขภาพที่มีความแตกต่างตรงที่เลือกใช้ผ้าใยไผ่แท้ แทนการใช้ใยสังเคราะห์หรือผ้าจากยางพารา เพราะยางพารามีเอนไซม์บางชนิดที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้บนผิวหนัง

นอกจากนี้เส้นใยไผ่ยังมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น ระบายอากาศ ระบายเหงื่อได้รอบตัว สามารถปรับอุณหภูมิให้ผิวกายรู้สึกเย็นสบาย ไม่อับชื้น ไม่ระคายเคืองผิว ลดโอกาสสะสมเชื้อโรคบริเวณผิวหนังได้ ข้อเด่นที่น่าสนใจอีกประการของชุดชั้นใน Charabra คือการออกแบบไร้โครง จึงมีความนุ่มสบาย ไม่กดทับผิว ไม่กดทับไหล่ ลดโอกาสการเกิดรอยแดง และอาการปวดไหล่ ปวดหลังได้อีกด้วย จึงเป็นทางเลือกสุขภาพที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงที่อาศัยในเขตอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย

บทความน่าสนใจ