รู้ก่อนสาย ภัยร้ายจากมะเร็งเต้านม

หัวข้อ

รู้หรือไม่? ปัจจุบันหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึงปีละ 20,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 55 คน ทำให้มะเร็งเต้านมขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่หญิงไทยเป็นมากที่สุดในขณะนี้

เช่นเดียวกับสถานการณ์จริงในระดับโลก ที่มีความรุนแรงมากกว่า จากข้อมูลของ Johns Hopkins Medicine and American Cancer Society ระบุว่าโดยเฉลี่ยแล้วมีผู้หญิงทั่วโลกถึง 1 ใน 8 ที่มีโอกาสได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ 75% ของผู้ป่วยไม่พบประวัติการเกิดโรคในครอบครัว ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดคือการสำรวจตัวเองและหาทางป้องกันด้วยวิถีสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงวัยเลข 4 ที่ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ

1. ขนาดหรือรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป 

เมื่อถึงวัยเลข 4 สิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงทั้งหลายควรทำเพื่อสำรวจตัวเอง คือ การสังเกตรูปทรงของเต้านมว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือไม่ คลำพบก้อนเนื้อบริเวณบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้หรือไม่ โดยควรหมั่นทำเองที่บ้านเป็นประจำทุกครั้งหลังประจำเดือนหมดประมาณ 1 สัปดาห์

2. ผิวบริเวณเต้านมเปลี่ยนไป

 สิ่งผิดปกติที่อาจพบได้ คือ การเกิดรอยบุ๋ยคล้ายลักยิ้ม การเกิดรอยบวมหนาคล้ายเปลือกส้ม ลักษณะผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หากเกิดสิ่งเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่าอาจเป็นอาการที่เกิดจากเซลล์มะเร็งลุกลาม

3. มีของเหลวไหลออกจากหัวนม 

อาจเป็นน้ำเหลือง หรือ ของเหลวสีเข้มคล้ายเลือด หากพบแล้วไม่ควรรีรอ รีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาโดยด่วน

4. มีอาการเจ็บเต้านมผิดปกติ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการปวดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หากเกิดร่วมกับการที่คลำเจอก้อนเนื้อ หรือสังเกตเห็นลักษณะผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนไป ควรรีบไปตรวจเช็คอาการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน

5. มีผื่นที่ไม่หายขาดบริเวณเต้านม 

อาจเกิดบริเวณหัวนมหรือเต้านมก็ได้ ซึ่งผ่านการรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วแต่ไม่หายขาด เป็นแผลตกสะเก็ดแข็ง หากพบดังนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นเซลล์มะเร็งเต้านมที่ลามขึ้นมาบนผิวหนัง

1. สำรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยมีคำแนะนำว่าผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้มากขึ้นเท่านั้น

2. เลี่ยงอาหารไขมันสูง ลดแป้ง น้ำตาล เนื่องจากอาหารไขมันสูงส่วนเกินจะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังมีการแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง เพราะเป็นอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งหลายประเภทรวมถึงมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน

3. รับประทานอาหารที่มีสารต้านมะเร็ง อาทิ ผลไม้ที่มีสีแดงออกส้ม เช่น มะเขือเทศ ชมพู่ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งเปลือกเพื่อรับสาร Flavonoid ที่มีคุณสมบัติลดสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผักมีสีจำพวกบีทรูท มะละกอ แครอท ผักโขม 

สียิ่งเข้มยิ่งดี เป็นแหล่งของสาร Bioflavonoids และ Carotenoids ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย พร้อมทั้งทำหน้าที่ต้านสารพิษต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง

4. ออกกำลังกายเพิ่มการเผาผลาญ ผลการวิจัยจาก Fred Hutchinson Cancer Research (FHCRC) ระบุว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ราว 30-40% โดยวิธีการออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่ควรหักโหม เช่น โยคะ เดิน ว่ายน้ำ ขอเพียงเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้เร็วขึ้นกว่าปกติก็นับว่าเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นแล้ว

5. เลือกใส่ชุดชั้นในที่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรค เนื่องจากอีก 1 สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมักเกิดจากการเลือกใส่ชุดชั้นในที่รัดหรือเล็กกว่าสรีระของตนเอง อาจส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของน้ำเหลือง ทำให้เกิดของเสียและสารตค้างในร่างกายที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ 

ดังนั้นการเลือกชุดชั้นในจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของคุณผู้หญิงทุกท่านอย่างมาก ชุดชั้นในที่ดี ควรออกแบบมาเพื่อสรีระและสุขภาพที่เนื้อผ้าผลิตจากเส้นใยธรรมชาติมีความยืดหยุ่น ไร้โครง ไร้ตะขอ สายใหญ่ ไม่กดทับออกแบบมาอย่างเหมาะสมกับสรีระ การเลือกชุดชั้นในจึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงวัย 40 ขึ้นไป ไม่ควรมองข้าม 

บทความน่าสนใจ